
นอกจากการทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ขจัดสารพิษนานาชนิดและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันแล้ว กลูทาไธโอนยังมีบทบาทในการส่งเสริมกระบวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์ ควบคุมขั้นตอนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอ กำหนดวงจรชีวิตของเซลล์ซึ่งรวมถึงการผลัดเซลล์ใหม่และการตายของเซลล์ ยิ่งไปกว่านั้นกลูทาไธโอนยังปกป้องโมเลกุลโปรตีนหลายชนิดที่ควบคุมกระบวนการทำงานของเซลล์โดยทำปฏิกิริยาจับตัวเข้ากับโปรตีนเหล่านี้โดยตรงเพื่อพิทักษ์จากการถูกทำลายโดยภาวะเครียดจากอ็อกซิเดชั่น (protein redox regulation) ด้วยเหตุนี้การมีระดับกลูทาไธโอนที่สูงอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงและการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ยืนยาว
ในทางตรงกันข้าม ภาวะบกพร่องของกลูทาไธโอนจะนำไปสู่การเสียสมดุลของการเกิดและการขจัดอนุมูลอิสระหรือที่เรียกว่าภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น (oxidative stress) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดการผลิตอนุมูลอิสระในร่างกายจำนวนมากจนก่อความเสียหายและทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ เช่น โมเลกุลโปรตีน โมเลกุลไขมันในเนื่อเยื่อบุผนังเซลล์ และดีเอ็นเอ นำไปสู่ภาวะอักเสบเรื้อรังและการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้การมีระดับกลูทาไธโอนต่ำยังเพิ่มความเสี่ยงจากการสะสมของสารพิษนานาชนิด รวมทั้งสารพิษก่อมะเร็ง ลดประสิทธิภาพการทำงานของภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรคหรือเซลล์มะเร็ง การมีระดับกลูทาไธโอนที่ต่ำจะก่อให้เกิดความบกพร่องของโมเลกุลโปรตีนหลายชนิดและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่การเกิดโรคเรื้อรังและโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้มากมาย รวมทั้ง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอด มะเร็ง
โรคสมองเสื่อมและโรคต้อกระจก
กลูทาไธโอนกับโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งได้แซงหน้าโรคหัวใจจนกลายมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับแรกจากสาเหตุการตายทั้งหมดของคนไทยต่อเนื่องมานานกว่า 18 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา จากข้อมูลสถิติโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2548
มีจํานวนผู้ป่วยมะเร็งใหม่ 98,852 คน เป็นเพศชาย 48,596 คน และเพศหญิง 50,256 คน … [อ่านต่อ]
กลูทาไธโอนกับโรคตับ

ตับคือโรงงานแปรรูปที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของร่างกาย มีการประเมินว่าตับทำหน้าที่หลากหลายถึงกว่า 500 ภาระกิจ ตั้งแต่ แปรรูปสารอาหาร ควบคุมระดับไขมัน กรดอะมิโนและน้ำตาลในกระแสเลือด เป็นแหล่งสะสมสารอาหารให้พลังงาน วิตามินและธาตุเหล็ก ผลิตน้ำดี คอเลสเตอรอล ฮอร์โมนเพศและส่วนประกอบอื่นๆของเลือด … [อ่านต่อ]
กลูทาไธโอนกับโรคความเสื่อมทางสมอง

โรคความเสื่อมทางสมองเป็นภาวะเสื่อมถอยของเซลล์ประสาทที่รักษาไม่หาย โดยความเสื่อมและ/หรือการตายของเซลล์ประสาทจะค่อย ๆ ดำเนินไปอย่างช้า ๆ โดยอาจใช้เวลานาน 10-20 ปีก่อนที่อาการของความผิดปกติ เช่น ความบกพร่องด้านความจำและการเรียนรู้ในกรณีของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์หรือปัญหาการควบคุม
กล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและการทรงตัวในกรณีของโรคพาร์กินสันจะปรากฎชัดเจนจนสังเกตได้ … [อ่านต่อ]
กลูทาไธโอนกับโรคทางระบบภูมิคุ้มกันและการติดเชื้อ

ในบรรดาโรคติดเชื้อที่มีการระบาดทั่วไปในประเทศไทย เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคอุจาระร่วง ถึงแม้ปัจจุบันจะมี อัตราการเสียชีวิตที่ไม่สูงนัก แต่หลายโรคก็มีแนวโน้มก่อความเจ็บป่วยให้ผู้คนในอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีและเป็นปัจจัยทวีความเสี่ยงให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ( เช่น
เบาหวาน ความดันสูง โรคตับอักเสบ โรคไตวาย โรคทางเดินหายใจ ) ซึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนสุขภาพ
ปกติ … [อ่านต่อ]
HMS 90®
Contact Details
บริษัท อิมมูโนไทย จำกัด245/4 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110092-696-6925info@immunothai.co.th