
ตับคือโรงงานแปรรูปที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของร่างกาย มีการประเมินว่าตับทำหน้าที่หลากหลายถึงกว่า 500 ภาระกิจ ตั้งแต่ แปรรูปสารอาหาร ควบคุมระดับไขมัน กรดอะมิโนและน้ำตาลในกระแสเลือด เป็นแหล่งสะสมสารอาหารให้พลังงาน วิตามินและธาตุเหล็ก
ผลิตน้ำดี คอเลสเตอรอล ฮอร์โมนเพศและส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลือด เช่น โปรตีน
อัลบูมินและสารทำให้เลือดแข็งตัว นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ช่วยดักจับเชื้อโรคและย่อยสลายเม็ดเลือดที่หมดอายุ ช่วยขจัดยา ของเสียและสารพิษ ฯลฯ และที่สำคัญ ตับยังเป็นแหล่งผลิตกลูทาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นยิ่งต่อการดำรงชีวิต ฉะนั้นการทำงานที่ลดลงของตับไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงและก่อให้เกิดการทำงานที่บกพร่องของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือด หัวใจ ปอด ไตหรือสมอง
ผลิตน้ำดี คอเลสเตอรอล ฮอร์โมนเพศและส่วนประกอบอื่น ๆ ของเลือด เช่น โปรตีน
อัลบูมินและสารทำให้เลือดแข็งตัว นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ช่วยดักจับเชื้อโรคและย่อยสลายเม็ดเลือดที่หมดอายุ ช่วยขจัดยา ของเสียและสารพิษ ฯลฯ และที่สำคัญ ตับยังเป็นแหล่งผลิตกลูทาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นยิ่งต่อการดำรงชีวิต ฉะนั้นการทำงานที่ลดลงของตับไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงและก่อให้เกิดการทำงานที่บกพร่องของระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น หลอดเลือด หัวใจ ปอด ไตหรือสมอง
นอกจากจะเป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกายแล้ว ตับยังเป็นแหล่งผลิตและสะสมกลูทาไธโอนที่สำคัญโดยทำหน้าที่แจกจ่าย
กลูทาไธโอนและสารตั้งต้นกลูทาไธโอนไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
กลูทาไธโอนพบได้เป็นปริมาณสูงถึง 10 mmol ในเซลล์ตับที่มีสุขภาพดี เซลล์ตับ เป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการสร้างกลูทาไธโอนจากสาร
กลูทาไธโอนและสารตั้งต้นกลูทาไธโอนไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
กลูทาไธโอนพบได้เป็นปริมาณสูงถึง 10 mmol ในเซลล์ตับที่มีสุขภาพดี เซลล์ตับ เป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการสร้างกลูทาไธโอนจากสาร

ตั้งต้นกรดอะมิโนและในการฟื้นฟูสภาพกลูทาไธโอนที่อ็อกซิไดซ์แล้วเพื่อให้สามารถกลับมาทำงานต้านอนุมูลอิสระได้ใหม่ ที่สำคัญเซลล์ตับจำเป็นต้องพี่งพากลูทาไธโอนในการกำจัดสารพิษนานาชนิดออกจากร่างกาย
“กลูทาไธโอน” เป็นชีวโมเลกุลที่มีความสำคัญต่อร่างกายและโดยเฉพาะต่อตับ โดยกลูทาไธโอนส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นเองในเซลล์ตับจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ ซีสเตอีน ไกลซีน และกลูตาเมต การขจัดสารพิษออกจากร่างกาย (detoxification) ถือเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของตับ โดยกลูทาไธโอนจะจับตัวเข้ากับสารแปลกปลอมนานาชนิด ได้แก่ สารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท
สารหนู สารตัวยา เช่น acetaminophen ที่พบในยาแก้ปวดพาราเซ็ทตามอล สารเคมีก่อมะเร็งเบ็นโซไพรีนจากควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ในอาหารปิ้งย่างหรือยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็งอาฟลาท็อกซินที่พบในราบนถั่วลิสง ไนโตรซามีนในไส้กรอก ฟอมัลดีไฮด์ที่ถูกลักลอบนำมาใช้แช่อาหารทะเล ฯลฯ โดยกลูทาไธโอนจะช่วยลดความเป็นพิษและเปลี่ยนสภาพสารพิษต่างๆให้ละลายได้ในน้ำเพื่อขับออกทางน้ำดีหรือปัสสาวะ หากเกิดความบกพร่องขึ้นกับกระบวนการขจัดสารพิษของตับ สารพิษจะสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรค
ต่าง ๆ ขึ้นได้
ภาวะบกพร่องของกลูทาไธโอนในตับ
ระดับกลูทาไธโอนที่ลดลงพบได้ในโรคตับทุกชนิดและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่องและการทำลายเซลล์ตับ
การศึกษาผู้ป่วยโรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส จากการเสพแอลกอฮอล์หรือจากภาวะบกพร่องทางระบบเมตาบอลิสซึ่ม
“กลูทาไธโอน” เป็นชีวโมเลกุลที่มีความสำคัญต่อร่างกายและโดยเฉพาะต่อตับ โดยกลูทาไธโอนส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นเองในเซลล์ตับจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ได้แก่ ซีสเตอีน ไกลซีน และกลูตาเมต การขจัดสารพิษออกจากร่างกาย (detoxification) ถือเป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งของตับ โดยกลูทาไธโอนจะจับตัวเข้ากับสารแปลกปลอมนานาชนิด ได้แก่ สารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท
สารหนู สารตัวยา เช่น acetaminophen ที่พบในยาแก้ปวดพาราเซ็ทตามอล สารเคมีก่อมะเร็งเบ็นโซไพรีนจากควันบุหรี่ ท่อไอเสีย ในอาหารปิ้งย่างหรือยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็งอาฟลาท็อกซินที่พบในราบนถั่วลิสง ไนโตรซามีนในไส้กรอก ฟอมัลดีไฮด์ที่ถูกลักลอบนำมาใช้แช่อาหารทะเล ฯลฯ โดยกลูทาไธโอนจะช่วยลดความเป็นพิษและเปลี่ยนสภาพสารพิษต่างๆให้ละลายได้ในน้ำเพื่อขับออกทางน้ำดีหรือปัสสาวะ หากเกิดความบกพร่องขึ้นกับกระบวนการขจัดสารพิษของตับ สารพิษจะสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรค
ต่าง ๆ ขึ้นได้
ภาวะบกพร่องของกลูทาไธโอนในตับ
การศึกษาผู้ป่วยโรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส จากการเสพแอลกอฮอล์หรือจากภาวะบกพร่องทางระบบเมตาบอลิสซึ่ม

(metabolic syndrome) พบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีระดับกลูทาไธโอนต่ำกว่าระดับที่วัดได้ในคนปกติได้ถึง 30% ผลการวิจัยกรณีโรคไขมันคั่งสะสมในตับและ
มะเร็งตับ พบว่าระดับกลูทาไธโอนที่ลดลงเกิดขึ้นได้จากความบกพร่องของเอ็นไซม์ในกระบวนการสันดาปที่ทำหน้าที่แปรรูปกรดอะมิโนเมไธโอนีน (methionine) ในตับ ให้กลายเป็นกรดอะมิโนซีสเตอีน สารตั้งต้นที่สำคัญที่สุดในการสร้างกลูทาไธโอน
มะเร็งตับ พบว่าระดับกลูทาไธโอนที่ลดลงเกิดขึ้นได้จากความบกพร่องของเอ็นไซม์ในกระบวนการสันดาปที่ทำหน้าที่แปรรูปกรดอะมิโนเมไธโอนีน (methionine) ในตับ ให้กลายเป็นกรดอะมิโนซีสเตอีน สารตั้งต้นที่สำคัญที่สุดในการสร้างกลูทาไธโอน
ระดับกลูทาไธโอนที่ต่ำลงยังพบได้ในผู้สูงอายุซึ่งเกิดจากการทำงานของตับที่เสื่อมลง และในผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งพบได้บ่อยในวัยกลางคน เช่น โรคหัวใจโรคหลอดเลือดอุดตัน ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการไหลเวียนของโลหิตไปยังเซลล์ตับทำให้การทำงานเมตาบอลิซึ่มของตับลดลง และอาจมีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดยาและเพิ่มความเสี่ยงจากพิษของยาต่าง ๆ ได้อีกด้วย
กลูทาไธโอน เสริมสร้างและฟื้นฟูสภาพตับ
นอกจากบทบาทในการขจัดสารพิษด้วยการเหนี่ยวนำและขับสารพิษออกจากร่างกายแล้ว กลูทาไธโอนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในการขจัดสารพิษประเภทอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่นของไขมันในไมโทคอนเดรีย (แหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์) ดังนั้นการมีระดับ กลูทาไธโอนที่สูงจะช่วยลดอัตราการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องไมโทคอนเดรียและเซลล์ตับจากการถูกทำลายโดยปฏิกิริยาการเกิดความเป็นพิษของไขมันที่สะสมในตับ ช่วยให้กระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกื้อหนุนให้การทำงานต่างๆ ของเซลล์ตับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเพิ่มระดับกลูทาไธโอนด้วยการให้สารตั้งต้นกรดอะมิโนซีสเตอีน นอกจากจะสามารถฟื้นฟูสมดุลของกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดภาวะอ็อกซิเดทีฟสเตรส (oxidative stress) หรือภาวะที่มีการทำลายชีวโมเลกุลต่างๆ ของตับในอัตราสูงแล้ว
ยังพบว่ามีส่วนช่วยลดการเกิดพังผืดในตับ โดยการลดการหลั่งสารเคมีก่อการอักเสบที่คอยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ที่เป็นส่วนประกอบของพังผืดอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Loguercio C, et al. Alteration of erythrocyte glutathione, cysteine and glutathione synthetase in alcoholic and non
alcoholic cirrhosis. J Clin Lab Invest 1992; 52: 207-213
2. Yuan L, et al. Glutathione in liver diseases and hepatotoxicity. Mol Aspect Med. 2008 article in press
3. Parris M. Kidd. Glutathione: Systemic Protectant Against Oxidative and Free Radical Damage. Alt Med Rev 1997;
2(3):155-176)
กลูทาไธโอน เสริมสร้างและฟื้นฟูสภาพตับ
นอกจากบทบาทในการขจัดสารพิษด้วยการเหนี่ยวนำและขับสารพิษออกจากร่างกายแล้ว กลูทาไธโอนยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในการขจัดสารพิษประเภทอนุมูลอิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่นของไขมันในไมโทคอนเดรีย (แหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์) ดังนั้นการมีระดับ กลูทาไธโอนที่สูงจะช่วยลดอัตราการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องไมโทคอนเดรียและเซลล์ตับจากการถูกทำลายโดยปฏิกิริยาการเกิดความเป็นพิษของไขมันที่สะสมในตับ ช่วยให้กระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเกื้อหนุนให้การทำงานต่างๆ ของเซลล์ตับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การเพิ่มระดับกลูทาไธโอนด้วยการให้สารตั้งต้นกรดอะมิโนซีสเตอีน นอกจากจะสามารถฟื้นฟูสมดุลของกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดภาวะอ็อกซิเดทีฟสเตรส (oxidative stress) หรือภาวะที่มีการทำลายชีวโมเลกุลต่างๆ ของตับในอัตราสูงแล้ว
ยังพบว่ามีส่วนช่วยลดการเกิดพังผืดในตับ โดยการลดการหลั่งสารเคมีก่อการอักเสบที่คอยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ที่เป็นส่วนประกอบของพังผืดอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Loguercio C, et al. Alteration of erythrocyte glutathione, cysteine and glutathione synthetase in alcoholic and non
alcoholic cirrhosis. J Clin Lab Invest 1992; 52: 207-213
2. Yuan L, et al. Glutathione in liver diseases and hepatotoxicity. Mol Aspect Med. 2008 article in press
3. Parris M. Kidd. Glutathione: Systemic Protectant Against Oxidative and Free Radical Damage. Alt Med Rev 1997;
2(3):155-176)
HMS 90®
Contact Details
บริษัท อิมมูโนไทย จำกัด245/4 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110092-696-6925info@immunothai.co.th