ในบรรดาโรคติดเชื้อที่มีการระบาดทั่วไปในประเทศไทย เช่น โรคไข้เลือดออก
ไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ โรคอุจาระร่วง ถึงแม้ปัจจุบันจะมีอัตราการเสียชีวิตที่ไม่สูงนัก แต่หลายโรคก็มีแนวโน้มก่อความเจ็บป่วยให้ผู้คนในอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีและเป็นปัจจัยทวีความเสี่ยงให้กับเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ความดันสูง โรคตับอักเสบ โรคไตวาย โรคทางเดินหายใจ) ซึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนสุขภาพปกติ นอกจากนี้วงการแพทย์ยังพบว่า การติดเชื้อโรคบางชนิดที่พบได้ในประชากรทั่วไป เช่น เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus) ที่ติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ เชื้อแบคทีเรีย เอช ไพลอรี่ (Helicobactor Pylori) ตัวการก่อโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรัง และไวรัสตับอักเสบบีและซี (Hepatitis B & C Virus) ซึ่งแต่ละชนิดสามารถก่อการอักเสบเรื้อรัง นำไปสู่การกลายพันธุ์ของเซลล์ที่เสียหายและกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกรวมทั้งมะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับตามลำดับได้อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ปรากฎการณ์ที่น่าเป็นห่วงของอัตราที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อและการเสียชีวิตจากแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะทุกชนิด (methicillin resistant staphyllococcus aureus หรือ MRSA) ที่ปัจจุบันคร่าชีวิตคนไทยโดยเฉลี่ยมากกว่า
ร้อยคนต่อวันหรือกว่า 38,000 คนต่อปี การแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นของโรคติดต่อในหลายภูมิภาคของโลก เช่น Ebola ในทวีปอัฟริกา การกลายพันธุ์อย่างไม่หยุดยั้งของเชื้อไวรัสหลายชนิด เช่น ไข้หวัดนกและ MERS ประกอบกับการเดินทางไปมาหาสู่กันที่ชุกขึ้นของผู้คนในยุคโลกาภิวัฒน์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศหรือการเกิดภาวะโลกร้อนที่อำนวยให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้กว้างไกลและเร็วยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบกับประชากรได้
เป็นจำนวนมากขึ้น ทั้งหมดนี้กำลังเป็นสัญญาณเตือนภัยให้เราทุกคนต้องตระหนักต่อความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมรับกับความท้าทายอยู่เสมอ

กลูทาไธโอน ‘อาหาร’ของระบบภูมิคุ้มกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าเอดส์เป็นโรคที่มีภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง บทบาทและความสำคัญของกลูทาไธโอนต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อ ดร. อัลตัน ไมสเตอร์ (Alton Meister, PhD.) ประธานภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยแพทย์คอร์แนล (Cornell Medical College) ในสหรัฐสังเกตุว่า ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเอดส์มีระดับกลูทาไธโอนในร่างกายที่ต่ำขั้นรุนแรง และต่อมาการศึกษาในห้องทดลองยังพบว่ากลูทาไธโอนสามารถขัดขวางการแพร่พันธุ์ของไวรัสเอดส์ได้และประสิทธิภาพการยับยั้งนี้จะสูงขึ้นตามปริมาณของกลูทาไธโอน(1)

นอกจากนี้การศึกษาโดยนักวิจัยหลายคณะยังพบว่า ระดับกลูทาไธโอนที่ต่ำผิดปกติจนถึงขั้นรุนแรง ยังพบได้ในภาวะที่ร่างกายมีการติดเชื้อเฉียบพลัน เช่น ปอดบวมนิวโมเนีย วัณโรค มาลาเรีย ไข้เลือดออก การติดเชื้อทางโลหิต (Sepsis) การเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบีและซี และยังรวมไปถึงผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง (Autoimmune Diseases) เช่น โรคข้ออักเสบ
รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythmatosus หรือ SLE) ซึ่งล้วนเป็นภาวะที่มีระดับสารก่อการอักเสบในเลือดสูงและมีระดับการทำงานภูมิคุ้มกันที่ลดลง(2)


ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยาพบว่า การเติบโตของเม็ดเลือดขาวในอัตราที่เหมาะสมและการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวขึ้นอยู่กับปริมาณของกลูทาไธโอนในร่างกาย การศึกษาทดลองในห้องวิจัยที่ปรับลดปริมาณ
กลูทาไธโอนในเม็ดเลือดขาวให้ต่ำลงพบว่าส่งผลให้ประสิทธิภาพการต่อต้านเชื้อโรคลดลงอย่างชัดเจน การศึกษาโดยนักวิจัยหลายทีมพบว่าระดับกลูทาไธโอนภายในเม็ดเลือดขาวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิภาพการโต้ตอบที่ฉับไวของระบบภูมิคุ้มกัน(3)

กลูทาไธโอนเสริมประสิทธิภาพการทำงานต่อต้านการติดเชื้อของเม็ดเลือดขาวใน 4 กระบวนการ
1) การส่งสัญญาณเตือนภัยต่อกันระหว่างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่บ่งชี้ชนิดของเชื้อโรคที่รุกรานเข้ามาในร่างกาย (antigen
   presentation) เพื่อนำไปสู่ปฏิกิริยาโต้ตอบเชื้อโรคที่เหมาะสม (cytokine production & cellular/humoral type of
   response)
2) การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (lymphocyte proliferation) เพื่อระดมกำลังพลของระบบภูมิคุ้มกัน
3) การกระตุ้นเร่งและเพิ่มฤทธิ์การทำลายเชื้อโรคของเซลล์เพชรฆาต (cytotoxic T-cells & natural killer cells activation)
4) การควบคุมการสั่งสลายตัวเพื่อระงับการทำงานของเม็ดเลือดขาวเมื่อเสร็จสิ้นภาระกิจกำจัดเชื้อโรคแล้ว (apoptosis regulation)

เนื่องจากขั้นตอนแรกๆของกระบวนการขจัดเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะการกลืนกินและฆ่าจุลชีพก่อโรคของแมคโครเฟจ (macrophages) และนูโตรฟิล (neutrophils) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสารพิษอนุมูลอิสระได้ในอัตราสูง (oxidative burst) ดังนั้นเซลล์เม็ดเลือดขาวจึงมีความจำเป็นต้องสามารถผลิตกลูทาไธโอนให้ได้ในปริมาณที่มากเพียงพอเพื่อปกป้องตนเองจากความเสียหายและรักษาเสถียรภาพ (redox state) ภายในเซลล์ของตัวเองเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ต่อสู้การคุกคามและกำจัดเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ด้วยเหตุนี้ กลูทาไธโอนจึงถูกเปรียบว่าเป็นเสมือน‘อาหาร’สำหรับภูมิคุ้มกัน (‘food’ for the immune system) เนื่องจากวิธีดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดคือการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเราให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ กลยุทธที่สำคัญในการเสริมสร้างเกราะป้องกันนี้ก็คือการรักษาระดับกลูทาไธโอนในร่างกายให้สูงไว้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

การเสริมระดับกลูทาไธโอน กลยุทธ์สำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันและลดภาวะอักเสบ การศึกษาวิจัยโดยการเพิ่มระดับกลูทาไธโอนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดของร่างกายให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆและผู้สูงอายุ พบว่าสามารถยับยั้งการสร้างสารก่อการอักเสบ เช่น TNF-α ที่ถูกกระตุ้นโดยอนุมูลอิสระจำนวนมากได้ (4) นอกจากนี้การเพิ่มระดับกลูทาไธโอนด้วยวิธีมอบสารตั้งต้นกรดอะมิโนซีสเตอีนยังพบว่าสามารถกระตุ้นฟื้นฟูการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรคและเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ T-cells และ Natual Killer cells ให้มีระดับสูงขึ้นได้ (5)

นอกจากนี้ นักวิจัย Fraternale และคณะ ยังพบว่ากลูทาไธโอนมีคุณสมบัติต้านไวรัสในหลายๆด้าน ตั้งแต่ ลดการหลั่งสารก่อการอักเสบซึ่งเป็นภาวะที่เอื้อต่อการผลัดเซลล์ของไวรัส ยับยั้งการยึดจับผนังเซลล์เพื่อถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ ยับยั้งการสลายตัว (apoptosis) ของเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสจึงลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ ตลอดจนขัดขวางการฟอร์มตัวของโปรตีนไวรัส (protein folding & stabilization)(6)

ในปี ค.ศ. 1997 ดร. ลุค มองตาญนิเยร์ (Luc Montagnier, PhD.) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ประจำปี 2008 จากการค้นพบเชื้อเอชไอวี ได้จัดพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับบทบาทของภาวะเครียดจากอ็อกซิเดชั่น (oxidative stress)ซึ่งเป็นภาวะที่มีการเสียสมดุลของสารต้านอนุมูลอิสระภายในร่างกายต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคเอดส์และโรคสมองเสื่อม(7) โดยในหนังสือมีการนำเสนอบทความเรื่องการวิจัยที่ให้ผลแสดงแนวโน้มที่ดีของการใช้ Undenatured Cysteine-Rich Whey Protein Isolate HMS 90® เวย์โปรตีนที่อุดมด้วยกรดอะมิโนซีสเตอีนและคงคุณค่าทางชีวภาพสูง โดยแสดงให้เห็น ว่าการเสริมอาหารด้วยเวย์โปรตีนชนิดนี้ให้
กับผู้ป่วยเด็กโรคเอดส์ที่ประสบภาวะสูญเสียน้ำหนักตัวขั้นรุนแรงนอกจากสามารถเพิ่มระดับกลูทาไธโอนของผู้ป่วยให้สูงขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะทางโภชนาการและภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นได้ (8)

เอกสารอ้างอิง
1. Meister A. and Anderson M.E. Glutathione. Annual Review of Biochemistry 1983; 52: 711-60
2. Fidelus RK et. al. Glutathione and lymphocyte activation: a function of aging and autoimmune disease. Immunology
     1987; 61:503-508
3. Dröge et al. Function of glutathione and glutathione disulfide in immunology and immunopathology. FASEB Journal
     1994; 8: 1131–1138.
4. Pedersen-Lane J. et. al. Analysis of the thiol status of peripheral blood leukocytes in rheumatoid arthritis patients.
     J. Leukoc. Biol. 2007; 81:934-94.
5. Grimble RF. The Effect of Sulfur Amino Acid Intake on Immune Function in Humans. J. Nutr. 2006; 136:1660S-1665S
6. Fraternale A. et al. GSH and analogs in antiviral therapy. Molecular Aspect of Medicine, 2009; 30(1-2):99-110.
7. Oxidative Stress in Cancer, AIDS, and Neurodegenerative Diseases. Montagnier L., Olivier R., Pasquier C. Marcel
    Dekker Inc., New York: 447-461,1998
8. Nutriceutical Modulation of Glutathione with a Humanized Native Milk Serum Protein Isolate, HMS 90®: Application
    in AIDS and Cancer. Baruchel S. and Viau G., Olivier R., Bounous G., Wainberg M.A. Marcel Dekker Inc., New York:
    447-461,1998

HMS 90®

เวย์โปรตีนไอโซเลต
อุดมซีสเตอีนคุณค่าชีวภาพสูง
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
เพิ่มระดับกลูทาไธโอน

สนใจสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้า

Line ID : @HMS90_OFFICIAL (มี@นำหน้า)

Contact Details

บริษัท อิมมูโนไทย จำกัด245/4 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110092-696-6925