
Piyaratana Tosukhowong, Chanchai Boonla, Thasinas Dissayabutra, Lalita Kaewwilai, Sasipa Muensri, Chanisa Chotipanich, Juho Joutsa, Juha Rinne, Roongroj Bhidayasiri. Journal of the Neurological Sciences 367 (2016) 162–170.
การศึกษาวิจัยผลทางชีวเคมีและทางคลีนิกของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลตที่มีกรดอะมิโนซีสเตอีนสูง HMS 90®เสริมอาหารให้ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
ทีมนักวิจัยประเทศไทย
รศ. นพ. รุ่งโรจน์ พิทยศิริ และคุณลลิตา แก้ววิไล ศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ สาขาวิชาประสาทวิทยา ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ศาสตราจารย์ ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ ผศ. ดร. ชาญชัย บุญหล้า และนพ. ดร. ฐสิณัส ดิษยบุตร ศูนย์วิจัยโรคนิ่วไตและโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ฝ่ายชีวเคมี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
รศ. พญ. ชนิสา โชติพานิช National Cyclotron and PET Center โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
บทเกริ่นนำ
สมองจัดเป็นอวัยวะที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความเสียหายและถูกทำลายได้ง่ายโดยอนุมูลอิสระ ทั้งนี้เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่มีอัตราการใช้อ็อกซิเจนในกระบวนการสันดาปสูงมากหรือเท่ากับ 20% ของความต้องการอ็อกซิเจนทั้งหมดทั้งๆ ที่เป็นอวัยวะที่มี
น้ำหนักเพียง 2% ของร่างกาย อ็อกซิเจนที่ถูกใช้ในอัตราสูงย่อมก่อให้เกิดอนุมูลอิสระจำนวนมากตามมา ยิ่งไปกว่านั้นเนื้อสมองของคนเรายังอุดมไปด้วยองค์ประกอบกรดไขมันประเภทไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acid) ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกๆ
ที่มักถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ แต่ถึงกระนั้นกลับพบว่าสมองมีปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะกลูทาไธโอน (glutathione) ต่ำกว่าอวัยวะสำคัญอื่น ๆ ดังนั้นหากระบบต่อต้านอนุมูลอิสระของสมองเกิดความบกพร่องขึ้นจนไม่สามารถกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากได้อย่างเพียงพอ เซลล์ประสาทจะตกอยู่ในสภาวะอันตรายและสามารถถูกอนุมูลอิสระโจมตีทำลายได้อย่างต่อเนื่อง

ออกซิเดชั่น (oxidative stress)
เนื่องจากกลูทาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวหลักที่ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ประสาทผลิตสารโดปามีนและภาวะขาดกลูทาไธโอนเป็นความผิดปกติที่ตรวจพบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันตั้งแต่ระยะแรก ๆ ก่อนปรากฎอาการ มาตราการต่าง ๆ ในการเพิ่มระดับ
กลูทาไธโอนให้ร่างกายจึงเป็นที่สนใจของวงการแพทย์โดยเฉพาะคุณประโยชน์ในการชะลอพัฒนาการของโรคหรือการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน
ปัญหาที่เป็นความท้าท้ายอีกประการของผู้ป่วยพาร์กินสันเป็นผลพวงมาจากยาแอล โดป้า (Levodopa) ซึ่งเป็นยาชนิดหลักที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ทั้งนี้ยาแอล โดป้าเมื่อผ่านกระบวนการสันดาปภายในร่างกายจะสามารถก่อให้การเกิดสารพิษโฮโม
ซีสเตอีน (homocysteine) ในปริมาณมากได้ มีหลายการวิจัยที่ยืนยันว่าโฮโมซีสเตอีนในเลือดของผู้ป่วยพาร์กินสันที่ได้รับยา
แอลโดป้ามักมีระดับสูงกว่าในคนที่ไม่ได้รับยา โฮโมซีสเตอีนเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระและนำไปสู่ภาวะเครียดจาก
ออกซิเดชั่น (oxidative stress) ได้ การมีระดับโฮโมซีสเตอีนสูงพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อม (dementia) การเกิดลิ่มเลือดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง

เวย์โปรตีน Undenatured Cysteine-Rich Whey Protein Isolate (HMS 90®) ถูกเลือกมาใช้เสริมอาหารให้ผู้ป่วยพาร์กินสันในการศึกษาวิจัยด้วยเหตุผลที่นอกจากจะเป็นแหล่งอาหารของกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) ที่ครบถ้วนแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหารสำคัญของกรดอะมิโนซีสเตอีน (cysteine) สารตั้งต้นที่สำคัญที่สุดในการสร้างกลูทาไธโอนโดยได้รับการยืนยันจากการศึกษาวิจัยทางคลีนิกว่ามีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการสร้างกลูทาไธโอนในเซลล์ของร่างกายและช่วยต่อต้านกระบวนการ
อ็อกซิเดชั่นในผู้ป่วยภาวะต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกรดอะมิโนประเภทกิ่ง (branched chain amino acids) ในสัดส่วนสูงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างมวลกล้ามเนื้อและยับยั้งการทำลายเซลล์กล้ามเนื้ออีกด้วย
จุดประสงค์และระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยมีจุดมุ่งหมายต้องการศึกษาการเสริมอาหารด้วยเวย์โปรตีนไอโซเลตในผู้ป่วยพาร์กินสันและผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินของโรคพาร์กินสัน การเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนในพลาสมา การเพิ่มระดับค่ากลูทาไธโอน การลดภาวะเครียดจากอ็อกซิเดชั่นและการเปลี่ยนแปลงค่าสารโฮโมซีสเตอีน การวิจัยใช้หลักเกณฑ์ randomized, placebo-controlled, double-blind study โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่ได้รับการเสริมอาหารเวย์โปรตีนที่มีคุณค่าทางชีวภาพและมีกรดอะมิโนซีสเตอีนในสัดส่วนสูง 15 คนและกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับโปรตีนถั่วเหลือง (กลุ่มยาหลอก) 17 คน โดยผู้ป่วยทั้งหมดได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารเสริมโปรตีน
แต่ละชนิดวันละ 20 กรัมติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน
ผลการศึกษาวิจัย
ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันที่ได้รับการเสริมอาหารด้วยเวย์โปรตีน HMS 90®มีระดับกลูทาไธโอนที่เพิ่มขึ้น มีระดับความเครียดจากอ็อกซิเดชั่นลดลงพร้อมๆ กับการลดลงของระดับสารพิษโฮโมซีสเตอีน (homocysteine) อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการเสริมอาหารด้วยโปรตีนถั่วเหลืองไม่พบว่ามีความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยพาร์กินสันที่ใช้เวย์โปรตีนมีระดับกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acids) และกรดอะมิโนชนิดกิ่ง (branched chain amino acids) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริม ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับโปรตีนถั่วเหลืองไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับกรดอะมิโนทั้งสองประเภท
ดูรายละเอียดผลการศึกษาได้จาก Bhidayasiri et al. Journal of the Neurological Sciences 367 (2016) 162–170.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27423583
HMS 90®
Contact Details
บริษัท อิมมูโนไทย จำกัด245/4 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110092-696-6925info@immunothai.co.th